ชุดที่1 ข้อสอบ พระราชบัญญัติองค์การบริหารส่วนจังหวัด พ.ศ.2540
ชุดที่ 1 ข้อสอบ พระราชบัญญัติองค์การบริหารส่วนจังหวัด พ.ศ.2540
กติกาแจกเฉลย : แชร์แนวข้อสอบไปที่หน้าเฟซของตนแบบสาธารณะ แคปหน้าจอส่งมาที่เพจ :: วิชาความรอบรู้ ความสามารถทั่วไป ครูผู้ช่วย
-
พระราชบัญญัติองค์การบริหารส่วนจังหวัด พ.ศ. 2540 มีผลบังคับใช้เมื่อใด ก. 30 ตุลาคม 2540 ข. 31 ตุลาคม 2540 ค. 1 พฤศจิกายน 2540 ง. 2 พฤศจิกายน 2540
-
ข้อใดเป็นเขตขององค์การบริหารส่วนจังหวัด ก. เขตจังหวัด ข. เขตอำเภอ ค. เขตตำบล ง. ถูกทุกข้อที่กล่าวมา
-
“จังหวัด” ตามพระราชบัญญัติองค์การบริหารส่วนจังหวัด หมายความว่า ก. จังหวัดตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน ข. จังหวัดตามกฎหมายว่าด้วยการบริหารส่วนจังหวัด ค. จังหวัดตามพระราชบัญญัติปรับปรุง กระทรวง ทบวง กรม ง. ไม่มีข้อถูก
-
“ราชการส่วนท้องถิ่น” หมายความว่า ก. เทศบาล ข. สุขาภิบาล ค. องค์การบริหารส่วนตำบล ง. ถูกทุกข้อ
-
ข้อใดคือองค์ประกอบขององค์การบริหารส่วนจังหวัด ก. สภาองค์การบริหารส่วนจังหวัด ข. นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัด ค. ปลัดจังหวัด ง. ถูกเฉพาะข้อ ก. และ ข.
-
ผู้ที่พ้นจากตำแหน่งสมาชิกสภาท้องถิ่นเพราะเหตุมีส่วนได้เสียในกิจการที่ทำกับองค์การปกครองส่วนท้องถิ่น จะมีสิทธิสมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาได้อีก ต้องล่วงพ้นระยะเวลาดังกล่าวมาแล้วไม่น้อยกว่ากี่ปี ก. 3 ปี ข. 4 ปี ค. 5 ปี ง. 6 ปี
-
จังหวัดที่มีราษฎรไม่เกิน 500,000 คน ให้มีการเลือกตั้งสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดได้กี่คน ก. 20 คน ข. 24 คน ค. 28 คน ง. 30 คน
-
จังหวัดที่มีราษฎรเกิน 500,000 คน แต่ไม่เกิน 1,000,000 คน ให้มีการเลือกตั้งสมาชิกสภาองค์การ บริหารส่วนจังหวัดได้กี่คน ก. 20 คน ข. 24 คน ค. 28 คน ง. 30 คน
-
อายุของสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดมีกำหนดคราวละกี่ปี ก. คราวละ 4 ปี นับตั้งแต่วันประกาศสมัคร ข. คราวละ 4 ปี นับตั้งแต่วันที่รับสมัคร ค. คราวละ 4 ปี นับตั้งแต่วันเลือกตั้ง ง. คราวละ 4 ปี นับตั้งแต่วันประกาศผลการเลือกตั้ง
-
สมาชิกภาพของสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดเริ่มตั้งแต่เมื่อใด ก. ตั้งแต่วันเลือกตั้ง ข. ตั้งแต่วันประกาศผลการเลือกตั้ง ค. ตั้งแต่วันที่ กกต. ประกาศรับรอง ง. นับแต่วันที่ได้รับการแต่งตั้ง
-
สมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัด ยื่นใบลาออกต่อผู้ใด ก. นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัด ข. ผู้ว่าราชการจังหวัด ค. ปลัดกระทรวงมหาดไทย ง. รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย
-
กรณีมีข้อสงสัย กรณีเกี่ยวกับการสิ้นสุดสมาชิกภาพของสมาชิกองค์การบริหารส่วนจังหวัดในประเด็น ขาดการประชุมติดต่อกันโดยไม่มีเหตุอันสมควร ผู้ที่มีอำนาจวินิจฉัยชี้ขาดในปัญหาดังกล่าวคือใคร ก. ผู้ว่าราชการจังหวัด ข. ประธานสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัด ค. นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัด ง. รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย
-
กรณีที่สภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดมีมติให้สมาชิกพ้นจากตำแหน่ง มติดังกล่าวต้องมีคะแนนเสียงไม่น้อยกว่าเท่าใดของจำนวนสมาชิกสภาทั้งหมด ก. 1 ใน 3 ข. 2 ใน 3 ค. 3 ใน 4 ง. ต้องมีมติเป็นเอกฉันท์
-
ตามพระราชบัญญัติองค์การบริหารส่วนจังหวัด ได้กำหนดให้มีรองประธานสภากี่คน ก. 1 คน ข. 2 คน ค. 3 คน ง. 4 คน
-
สมาชิกภาพของสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดสิ้นสุดลง กรณีขาดประชุมตามข้อใด ก. 3 ครั้ง ข. เกิน 3 ครั้ง ค. 3 ครั้งติดต่อกันโดยไม่มีเหตุอันสมควร ง. เกิน 3 ครั้งติดต่อกันโดยไม่มีเหตุอันสมควร
-
ประธานสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัด ได้มาตามข้อใด ก. เลือกตั้งโดยตรงจากประชาชน ข. ผู้ว่าราชการจังหวัดแต่งตั้งจากสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัด ค. สภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดเลือกจากสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัด ง. ถูกทุกข้อแล้วแต่กรณี
-
ในปีหนึ่งให้มีสมัยประชุมสามัญ จำนวนตามข้อใด ก. 2 สมัย ข. 3 สมัย ค. 4 สมัย ง. 2 สมัยแต่ไม่เกิน 4 สมัย
-
สมัยประชุมสามัญผู้ว่าราชการจังหวัดต้องกำหนดให้สมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดได้มาประชุมสภาองค์การบริหารส่วนจังหัดครั้งแรกภายในกี่วัน ก. 7 วันนับแต่วันประกาศผลเลือกตั้งสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัด ข. 15 วันนับแต่วันประกาศผลเลือกตั้งสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัด ค. 20 วันนับแต่วันประกาศผลเลือกตั้งสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัด ง. 30 วันนับแต่วันประกาศผลเลือกตั้งสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัด
-
กรณีที่ตำแหน่งประธานสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดว่างลง นอกจากถึงคราวออกตามวาระ หรือยุบสภาจะต้องให้มีการเลือกตั้งประธานสภาแทนตำแหน่งที่ว่างภายในกี่วัน ก. 7 วัน ข. 15 วัน ค. 30 วัน ง. 45 วัน
-
ใครเป็นผู้กำหนดวันเริ่มสมัยประชุมสามัญประจำปี ก. ผู้ว่าราชการจังหวัด ข. ประธานสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัด ค. นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัด ง. อธิบดีกรมการปกครอง
กติกาแจกเฉลย : แชร์แนวข้อสอบไปที่หน้าเฟซของตนแบบสาธารณะ แคปหน้าจอส่งมาที่เพจ :: วิชาความรอบรู้ ความสามารถทั่วไป ครูผู้ช่วย